เมนู

ยังไม่บรรลุ. เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้เเจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุ
ประการที่ 8 ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอารัพภวัตถุ ประการนี้แล.
จบ อารัพภวัตถุสูตรที่ 19

อรรถกถากุสีตารพภวัถุสูตรที่ 10


กุสีตารัพภวัตถุสูตรที่ 10

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ วัตถุคือที่ตั้งแห่งคนเกียจคร้าน คือ
คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุแห่งความเกียจคร้าน. บทว่า กมฺมํ
กตฺตพฺพํ โหติ
ได้แก่ จำต้องทำงานมีการกะจีวรเป็นต้น. บทว่า
น วีริยํ อารภติ ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียรทั้ง 2 อย่าง. บทว่า
อปฺปตฺตสฺส ได้แก่ เพื่อถึงธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล
ที่ยังไม่ถึง. บทว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรม คือฌาน
เป็นต้น นั้นนั่นแหละที่ยังไม่บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม คือฌานเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง บทว่า อิทํ ปฐนํ ความว่า การท้อถอยอย่างนี้ว่า เอาเถิด
เราจะนอน นี้เป็นกุสีตวัตถุเหตุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ 1. พึง
ทราบความในทุกบทโดยนัยนี้. ก็ในบทว่า มาสาจิตํ มญฺเญ นี้มี
วินิจฉัยต่อไปนี้. ชื่อว่าจิตที่หลง เปรียบเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ
อธิบายว่า ถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำเป็นของหนักฉันใด ภิกษุก็เป็น
ผู้หนักฉันนั้น. บทว่า คิลานา วฏฺฐิโต โหติ ความว่า ภิกษุเป็นไข้
ภายหลังหายไข้แล้ว.

บทว่า อารพฺภวตฺภูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร. พึงทราบ
ความแห่งเหตุของความเพียรแม้นั้นโดยนัยนี้. คำที่เหลือในทุกบท
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถากุสีตวัตถุสูตรที่ 18 อารัพภวัตถุสูตรที่ 19
จบ อรรถกถากุสีตารัพภวตถุสูตรที่ 10


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฏิปทาสูตร 6 สูตร 2. อิจฉาสูตร 3. ลัจฉาสูตร 8 สูตร
4. ปริหานสูตร 5. อปริหานสูตร 6. กุสีตวตถุสูตร 7. อารัพภวัตถุสูตร
และอรรถกถา
จบ ยมวรรคที่ 8